โคมลอย..โคมลอยขายส่ง..โคมลอยราคาถูก..10 บาท..จัดส่งฟรี

http://khomloys.siam2web.com/

การศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับโคมลอย (1)


โคมลอย คือ

                ความหมายของ “โคมลอย” ที่ทราบมาพบเห็นอยู่สองความหมาย
                        โคมลอย หมายถึงประทีปที่จุดไฟแล้ววางบนกระทงและปล่อยให้ลอยไปตามสายน้ำ
                        โคมลอย ที่มีลักษณะเป็นลูกโป่งขนาดใหญ่ทำด้วยกระดาษบางเบาที่ปล่อยให้ลอยไปบนฟากฟ้าโดยใช้ควันไฟ
                ในแง่ของโคมที่ลอยบนฟ้านั้นพบในหนังสืออักขราภิธานศัพท์ Dictionary of the Siamese Language by Dr.B.Bradley Bangkok 1873 หรือพจนานุกรมภาษาสยามที่ ดร.แดน บีช แบรดเลย์ จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๑๖ โดยกล่าวไว้ว่า “โคมลอย” คือประทีปมีเครื่องสำหรับจุดไฟในนั้นให้สว่างแล้วควันไฟก็กลุ้ม อบอยู่ภายในโคมนั้นและพาโคมให้ลอยขึ้นไปได้บนอากาศ
                สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ใน พระราชพิธีสิบสองเดือน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อปีชวด พ.ศ. 2431 นั้น มีข้อความส่วนที่ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์อธิบายศัพท์แผลงว่า
                “โคมลอย” มีความหมายเดียวกับ “โพยมยาน” และโพยมยาน แปลมาจาก air ship คือยานที่ลอยไปในอากาศได้โดยใช้อากาศร้อนหรือแก๊สที่เบากว่าอากาศยกเอายานนั้นลอยไปได้ แต่เมื่อเทียบกับคำแปลของ หมอแบรดเลย์ แล้ว “โพยมยาน”ในที่นี้น่าจะหมายถึง balloon มากกว่า ยิ่งในคำอธิบายในหน้า ๖๔๓ ที่ว่า “โคมลอย” ในที่นี้ “…มาแต่หนังสือพิมพ์ตลกของอังกฤษที่ชื่อว่า ฟัน(Fun-ผู้เขียน) ที่ใช้รูปโคมลอยอยู่หลังใบปก หนังสือพิมพ์นั้นเล่นตลกเหลวไหลไม่ขบขันเหมือนหนังสือพิมพ์ตลกอย่างอื่น คือ ปันช เป็นต้น จึงเกิดคำติกัน เมื่อใครเห็นเล่นตลกไม่ขบขัน จึงว่าราวกับหนังสือพิมพ์ฟัน บ้างว่าเป็นโคมลอย (เครื่องหมายของหนังสือนั้น) บ้างจะพูดให้สั้นจึงคงไว้แต่”โคม”…” จากประเด็นดังกล่าวนี้ “โคมลอย”ตามนัยของพระราชพิธี ๑๒ เดือน กับนัยของหนังสืออักขราภิธานศรัพท์แม้จะดูเหมือนว่าไม่ตรงกัน แต่ก็พอจะอธิบายให้เห็นได้ว่าเป็นวัตถุทรงกลมที่อาศัยความร้อนที่กักไว้ภายในพยุงให้ลอยไปในอากาศได้



ชนิดของโคมลอย

        "โคมลอย" สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 แบบตามลักษณะการใช้งานคือ

                1. โคมลอยที่ใช้ปล่อยในเวลากลางวัน
                                โคมลอยชนิดนี้จะอาศัยหลักการการลอยตัวของควันไฟในเวลากลางวัน โดยใช้วิธีการรมควันให้ควันไฟเข้าไปรวมกันอยู่ภายในตัวโคมลอยจนเต็มที่จากนั้นจำนวนควันไฟที่อัดแน่นอยู่ภายในตัวโคมลอยจะช่วยพยุงให้ตัวโคมลอยสามารถลอยพุ่งขึ้นสู่บนท้องฟ้าได้
                2. โคมลอยที่ใช้ปล่อยในเวลากลางคืน
                                โคมลอยชนิดนี้ปัจจุบันเป็นที่นิยมปล่อยกันมากและมีความนิยมสูงขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเมื่อโคมลอยลอยพุ่งขึ้นสู่บนท้องฟ้าในเวลากลางคืนแสงไฟที่จุดตรงใส้โคมลอยจะสามารถมองเห็นได้อย่างเด่นชัดและเกิดความสวยงาม หลักการลอยตัวของโคมลอยชนิดปล่อยกลางคืนนี้ใช้ความร้อนจากไฟที่ลุกไหม้ของไส้โคมที่ติดอยู่ตรงฐานล่างของโคมลอย เป็นแรงขับให้ตัวโคมลอยสามารถลอยพุ่งขึ้นสู่บนท้องฟ้าได้



ชื่อเรียก "โคมลอย"

                "โกมลอย"    โคมลอยมีชื่อเรียกในภาษาทางท้องถิ่นในภาคเหนือเรียกว่า "โกมลอย" ซื่งคำว่า "โกม" เป็นภาษาท้องถิ่นของทางภาคเหนือตรงกับคำว่า "โคม" นั่นเอง
                "โคมลม"“ว่าวฅวัน”หรือ"ว่าวข้าวกล่อง"    ในบางท้องถิ่นเรียกโคมลอยเป็นว่าวชนิดหนึ่งเพราะโคมลอยทำมาจากกระดาษว่าว และมักนิยมเรียกโคมลอยชนิดที่ปล่อยในเวลากลางวันว่า "ว่าวข้าวกล่อง" เพราะมีรูปทรงสี่เหลี่ยมเวลาลอยอยู่บนท้องฟ้าเวลากลางวันมีลักษณะคล้ายกันกับ "ข้าวกล่อง"หรือ"กล่องข้าว"ที่คนสมัยก่อนนิยมใช้ใบตาลแห้งมาจักเป็นเส้นแล้วสานเป็นกล่องข้าวไว้สำหรับบรรจุข้าวเหนียวหรือข้าวที่นึ่งสุกเก็บไว้กินเพราะใบตาลมีลักษณะพิเศษที่ใบมีความมันวาวและลื่นไม่ติดกับข้าวเหนียว
                "โกมไฟ"หรือ "ว่าวไฟ"    ใช้เป็นชื่อเรียกโคมลอยชนิดที่ปล่อยในเวลากลางคืน
                ที่เรียก “ว่าวไฟ” ว่าเป็น ”โคมลอย” นั้นเรียกมาแต่สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อทหารไทยมาประจำการในล้านนาทางภาคเหนือ พอเห็น “ว่าวฅวัน” หรือ “ว่าวไฟ” ลอยขึ้นฟ้า ก็เรียกว่าสิ่งนั้นคือ ”โคมลอย”

ประวัติโคมลอย

                การลอยโคม เป็นประเพณีพื้นบ้านในวันเพ็ญเดือนสิบสอง ที่ชาวบ้านทางภาคเหนือและภาคอีสานนิยมทำกัน ถือเป็นการปล่อยเคราะห์ ปล่อยโศกและเรื่องร้ายๆต่างๆ ให้ไปพ้นจากตัว แต่เดิมนั้นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 จะมีพิธีลอยกระทงเรียกว่า พระราชพิธีจองเปรียงชักโคม ลอยโคม ซึ่งเป็นพิธีของพราหมณ์ กระทำเพื่อบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ครั้นคนไทยรับนับถือพระพุทธศาสนาก็ทำพิธี ยกโคม เพื่อบูชา พระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณี ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลอยโคมบูชาพระพุทธบาท ณ หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ประเทศอินเดีย
                สำหรับการลอยกระทงตามสายน้ำนี้เกิดขึ้นครั้งแรกตามหลักฐานที่บันทึกเอาไว้ว่า นางนพมาศ ซึ่งเป็นสนมเอกของพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัยได้คิดทำกระทงรูปดอกบัวและรูปต่าง ๆ ถวาย พระร่วง ทรงให้ลอยกระทงตามสายน้ำไหลใน หนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระร่วงตรัสว่า "แต่นี่สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศ ถึงกาลกำหนด นักขัตฤกษ์ วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัวอุทิศสักการบูชา พระพุทธบาทนัมฆทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน" ครั้นถึง สมัยรัตนโกสินทร์ มีการทำกระทงขนาดใหญ่และสวยงามมีการประกวดประขันกัน
                ลอยโคมลงน้ำ และการ ลอยพระประทีป ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ถือเป็นประเพณีสำคัญประจำเดือนสิบสอง (ประมาณเดือนพฤศจิกายน) ในยุค กรุงรัตน-โกสินทร์ตอนต้น ในเดือนนี้จะมีงานประเพณีที่มีลักษณะใกล้เคียงกันจัดขึ้น 3 งาน ดังนี้

"โคมลอย ความเชื่อและข้อแตกต่าง"

                มีข้อแตกต่างระหว่างโคมลอยกลางวันและลอยกลางคืน และเหตุใดโคมลอยกลางคืนจึงเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย

           1.โคมลอยกลางวันมีขนาดใหญ่กว่าโคมลอยกลางคืนมากเวลาปล่อยต้องใช้คนช่วยกัน 5-6 คน
           2.เนื่องจากโคมลอยกลางวันมีขนาดใหญ่ต้องใช้เวลาในการปล่อยนานมากกว่าจะรมควันให้เต็มในตัวโคมได้
           3.โคมลอยกลางวันใช้กระดาษว่าวต่อกันหลายชิ้นถ้าทำไม่ดีมักมีรูรั่วอยู่เสมอ ๆ และถ้ารูปทรงไม่ดีโคมจะลอยเอียง ขึ้นไม่สูง หรือมักตกประจำ
           4.โคมลอยกลางวันมีกรรมวิธีการปล่อยที่ค่อนข้างต้องใช้ความระมัดระวัง บางครั้งช่วงที่รมควันไฟถ้าไม่ระวังอาจโดนตัวโคมทำให้เกิดไฟลุกหรือไม่ก็มักจะมีลูกไฟหล่นจากการรมควันไฟอยู่เสมอ ๆ
           5.โคมลอยกลางคืนหาซื้อง่าย ราคาถูก ขนย้ายสะดวก เวลาปล่อยใช้คน 1-2 คนก็ทำได้
           6.โคมลอยกลางคืนเกิดความสวยงามบนท้องฟ้า จึงมักนิยมปล่อยกันทีละมาก ๆ ในงานพิธีสำคัญต่าง ๆ
           7.โคมลอยกลางคืนมีลูกเล่นสามารถประดับพลุ ไฟน้ำตก เพื่อให้เกิดความสวยงามและเพลิดเพลิน
           8.จุดโคมลอยกลางคืนมีความหมายเหมือนแสงสว่างที่จะนำพาคนปล่อยหลุดพ้นจากความทุกข์กายทุกข์ใจนำพาให้โชคชะตาชีวิตดีขึ้น สูงขึ้น และนำไปสู่สิ่งที่ดีกว่า
           9.วัยรุ่นหนุ่มสาวนิยมปล่อยโคมลอยกลางคืนร่วมกันมีความเชื่อว่าหากได้ลอยโคมลอยแล้วอธิษฐานร่วมกันจะทำให้รักกันยาวนาน
           10.มีความเชื่อที่ว่าการลอยโคมกลางคืนเป็นการลอยเพื่อสะเดาะเคราะห์จึงมีคนนิยมลอยโคมกลางคืนกันอย่างแพร่หลาย


Online: 1 Visits: 73,387 Today: 11 PageView/Month: 134