โคมลอย..โคมลอยขายส่ง..โคมลอยราคาถูก..10 บาท..จัดส่งฟรี

http://khomloys.siam2web.com/

การศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับโคมลอย (2)

 พระราชพิธีจองเปรียง ลดชุด ลอยโคมลงน้ำ

การลอยประทีบลงน้ำ               โคมลอยฟ้า


                เป็นพิธีถวายประทีปบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสามตามความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ และต่อมาได้ถือเป็นการบูชาพระบรมสารีริกธาตุจุฬามณีและรอบพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าในศาสนาพุทธด้วย ซึ่งจะกำหนดยกโคมขึ้นยอดเสาในเดือน ๑๒ (ประมาณเดือนพฤศจิกายน) เป็นเวลาประมาณ ๑ เดือน


การลอยพระประทีป

                เป็นประเพณีลอยกระทงในพระราชสำนักจัดขึ้นในวันเพ็ญเดือนสิบสองประมาณเดือนพฤศจิกายน) โดยพระเจ้าแผ่นดินจะทรงพระภูษาขาวและทรงธรรมในพระบรมมหาราชวัง ทรงบูชาดอกไม้พุ่มที่หน้าพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และหอพระในพระบรมมหาราชวัง แล้วจึงเสด็จออกที่แพลอย ท่าราชวรดิษฐ์


การ ลอยกระทง

                เป็นประเพณีของราษฎรโดยทั่วไป มีแนวคิดและขั้นตอนเช่นเดียวกันกับการ ลอยพระประทีป แต่มีความเรียบง่ายและลดรายละเอียดของแบบแผนพระราชพิธีโบราณลง เพื่อให้เป็นไปตามฐานะทางสังคมของแต่ละบุคคล จัดขึ้นในวันเพ็ญเดือนสิบสอง เช่นเดียวกัน กระทงที่จะใช้ลอยสามารถประดิษฐ์เป็นรูปต่างๆ ได้ตามต้องการ เช่น รูปดอกบัวบาน หงส์ เจดีย์ ภูเขา ฯลฯ ซึ่งจะบรรจุดอกไม้ ธูปเทียน แล้วลอยลงน้ำถวายเป็นพุทธบูชา มีการเล่นดอกไม้เพลิง ดอกไม้น้ำ ออกร้าน และมหรสพต่างๆ เช่นเดียวกับการลอยพระประทีป
                ใน สมัยสุโขทัย เดิมมีความเชื่อกันว่า ประชาชน นิยมจัดประเพณีลอยโคม ถือเป็นประเพณีที่ให้ความสนุกสนาน ตาม แม่น้ำทั่วไปเห็นแสงไฟระยิบระยับอยู่ทั่วไปยามราตรี พระร่วงเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงสุโขทัย ได้เสด็จประพาสตามลำน้ำเพื่อทอดพระเนตรประเพณีดังกล่าว โดยมีอัครมเหสีและพระสนมฝ่ายในตามเสด็จมากมาย เมื่อนางนพมาศได้เข้ารับราชการในราชสำนักมียศเป็นท้าวศรีจุฬาลักษณ์ จึงได้คิดทำกระทงเป็นรูปดอกบัว เพื่อหวังจะเป็นเครื่องสักการะบูชารอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมทานที ตามที่เชื่อกันมา ดังข้อความที่ปรากฏในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือตำรับทางนพมาศ ได้กล่าวว่า "พอถึงพระราชพิธีจองเปรียงในวันเพ็ญเดือน 12 เป็นวันนักขัตฤกษ์ชักโคมลอยโคม บรรดาประชาชนชายหญิงต่างตกแต่งโคม ชักโคม แขวนโคม ลอยโคมทุกตระกูลทั่วทั้งพระนคร"
                สมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อแผ่นดิน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีการจัดพระราชพิธี "จองเปรียงลดชุดลอยโคม" ดังระบุไว้ใน นิราศธารโศก ของ เจ้าฟ้ากุ้ง ว่า...

                เดือนสิบสองถ่องแถวโคม                แสงสว่างโพยมโสมนัสสา
                       เรืองรุ่งกรุงอยุธยา                วันทาแล้วไปเห็น


                ส่วนจดหมายเหตุราชทูตลังกาที่เข้ามาในสมัย พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ก็ได้ระบุในราชพิธีดังกล่าว ความว่า " ก่อนอรุณ มีข้าราชการไทยสองคนลงมาบอกราชทูตานุทูตว่า ในค่ำวันนั้นได้มี กระบวนแห่เสด็จพระราชดำเนินทางชลมาคร ในการพระราชพิธีฝ่ายศาสนา กระบวนเสด็จผ่านที่พักราชทูตมากระบวนพิธีที่ทูตานุทูตได้เป็นมีดังนี้ คือ ตามบรรดาริมน้ำทั้งสองฟากทุกวัด ต่างปักไม้ไผ่ลำยาวขึ้นเป็น เสาโนม์ ปลายไม้ลงมาผูกเชือกชักโคมต่างๆ ครั้นได้เวลาพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาเสด็จโดยกระบวน พร้อมด้วยกรมพระราชวังบวรสถานมงคล สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และเจ้าพระมหาอุปราช เรือทีเสด็จล้วนปิดทองมีกันยาดาดสี และผูกม่านในลำเรือปักเชิงทอง เงิน มีเทียนจุดตลอดลำ มีเรือข้าราชการ ล้วนแต่แต่งประทีปแห่นำตามเสด็จด้วยเป็นอันมาก ในพระราชพิธีนี้ยังมีโคมกระดาษทำเป็นรูปดอกบัวสีแดงบ้างสีขาวบ้าง มีเทียนจุดอยู่ในนั้น ปล่อยลอยตามลำน้ำลงมาเป็นอันมาก และมีรำบำดนตรีเล่นมาในเรือนั้นด้วย "
                สมัย กรุงรัตนโกสินทร์ พิธีนี้ยังคงนิยมทำกันเป็นการใหญ่ มีหลักฐานปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่ง เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) กล่าวไว้ว่า "ครั้นมาถึงเดือน 12 ขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ แรมค่ำหนึ่ง พิธีจองเปรียงนั้นเดิมได้โปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ ฝ่ายหน้า ฝ่ายใน และข้าราชการที่มีกำลังพาหนะมากทำกระทงใหญ่ ผู้ถูกเกณฑ์ต่อเป็นถังบ้าง เป็นแพหยวกบ้าง กว้าง 8 ศอกบ้าง 9 ศอกบ้าง กระทงสูงตลอดยอด 10 - 11 ศอก ทำประกวดประชันกันต่าง ๆ กัน ฯ "
                การทำกระทงใหญ่ในลักษณะดังกล่าวมานี้ น่าจะมีมาตั้งแต่ รัชกาลที่ 1 จนถึง รัชกาลที่ 3 ครั้นมาถึง รัชกาลที่ 4 ทรงเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลือง จึงโปรดให้ยกเลิกเสีย และโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ทำเรือลอยพระประทีปแทนกระทงใหญ่ถวายองค์ละลำ เรียกว่า " เรือลอยพระประทีป " ต่อมา รัชกาลที่ 5 และ รัชกาลที่ 6 ได้ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีนี้ขึ้นอีก ในปัจจุบันนี้การลอยพระประทีปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกระทำ เป็นการส่วนพระองค์ตามพระราชอัธยาศัย แต่พิธีของชาวบ้านยังทำกันอยู่เป็น ประจำ



โคมลอย....ฟ้า

                เป็นโคมที่มีรูปทรงต่าง ๆ ทำจากวัสดุ เช่น กระดาษ ผ้า (ยกเว้นวัสดุสังเคราะห์ เช่น โฟม หรือพลาสติก) อาจตกแต่งลวดลายโดยการตัดแปะด้วยสัสดุอื่น เช่นกระดาษบาง ๆ หรือแต่งสี มีไส้หรือเชื้อเพลิงอยู่ด้านล่าง ใช้สำหรับจุดไฟเพื่อให้โคมลอยขึ้นไปในอากาศ เมื่อจุดไส้หรือเชื้อเพลิงแล้วโคมจะลอยได้
                ชาวบ้านที่นับถือพระพุทธศนา พอถึงเทศกาลวันเพ็ญเดือนสิบสอง ชาวบ้านจะทำโคมลอยไปถวายวัดแล้วจุดเป็นพุทธบูชา หรือบูชา พระเกศแก้วจุฬามณี บนสวรรค์
                โคมลอยฟ้าจะลอยกันในตอนกลางคืน เรียกว่าการปล่อยโคม ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ
                "โคมไฟ" หรือ “ว่าวไฟ” เป็นการจุดไฟไว้ในโคม พอจุดไฟก็เกิดเป็นความร้อน ทำให้อากาศลอยตัวสูงขึ้น โคมก็จะลอยสู่ท้องฟ้า
                "โคมลม" อันนี้จะใช้ควันอันเข้าไป ให้โคมลอยขึ้นสูง ชาวบ้านจะมาช่วยกันทำโคมและต่างคนต่างปล่อย จำนวนโคมที่ลอยขึ้นฟ้าก็มีไม่มากเท่าทุกวันนี้ซึ่งมีการเชิญชวนกันมาก ๆ เข้า
                การลอยโคม ของชาวล้านนาทางภาคเหนือ ถือเป็นการบูชาองค์พระธาตุจุฬามณี ที่อยู่บนสรวงสวรรค์อีกด้วย ส่วนการลอยกระทงในน้ำนั้น ได้รับอิทธิพลจากสุโขทัย โดยวัฒนธรรมการลอยกระทง เพื่อบูชา พระแม่คงคา ตามความเชื่อของคนไทยภาคกลาง



สรุป ได้ว่า

                "โคมลอย" ก็คือกระทงทรงประทีป หรือกระทงที่รองรับประทีปซึ่งจุดไฟแล้วปล่อยให้ลอยไปตามสายน้ำ เมื่อดูจาก พระราชพิธีสิบสองเดือน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดพิมพ์โดยแพร่พิทยา ฉบับที่พิมพ์ครั้งที่สิบสาม พ.ศ. ๒๕๑๔ ทรงกล่าวว่า “.. การที่ยกโคมขึ้นนั้นตามคำโบราณกล่าวว่ายกขึ้นเพื่อบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสามคือ พระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม การซึ่งว่าบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสามนี้เป็นต้นตำราแท้ในเวลาถือไสยศาสตร์ แต่ครั้นเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงนับถือพระพุทธศาสนาก็กล่าวว่าบูชาพระบรมสารีริกธาตุพระจุฬามณีในดาวดึงส์พิภพ และบูชาพระพุทธบาทซึ่งปรากฏอยู่ ณ หาดทรายเรียกว่า นะมะทานที เป็นที่ฝูงนาคทั้งปวงสักการบูชาอยู่..” (น.๙) ก็เป็นอันว่า “โคมลอย” ของนางนพมาศนั้นลอยน้ำ แต่ ”โคมลอย” ของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 นั้น ลอยฟ้า และ “โคมลอย” ของภาคกลางนั้นทำได้ทั้งลอยฟ้าและลอยน้ำ โดยจุดประทีปโคมไฟให้ลอยไปตามน้ำเพื่อบูชารอยพระพุทธบาทในนาคพิภพ และยกโคมขึ้นให้สูงเพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณี




ขอขอบคุณข้อมูลจาก

                http://www.panyathai.or.th/


Online: 1 Visits: 73,366 Today: 6 PageView/Month: 113